บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ที่ให้ความสนใจ ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม

วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วาราสารศาสตร์แห่งอนาคต

"วารสารศาสตร์แห่งอนาคต" จุดเปลี่ยน - ความท้าทายในสื่อยุคใหม่ ที่ นศ.ไทยควรรู้


นิรันดร์ เยาวภาว์ Web Master ผู้จัดการออนไลน์
การเติบโตของสื่อใหม่ที่เรียกว่านิวมีเดีย (New Media) ซึ่งปัจจุบันไม่ใช่มีเพียงแค่สื่อออนไลน์ แต่ครอบคลุมหลากหลายผนวกรวมกัน ไม่ว่าจะเป็นสื่อโฆษณารูปแบบต่างๆที่พลิกแพลงมากขึ้น , SMS รายงานข่าวผ่านโทรศัพท์มือถือ , Social network อย่าง facebook - twitter - youtube หรือเทคโนโลยี 3G ฯลฯ ทั้งหมดล้วนเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่เติบโตขึ้นมาท้าทายสื่อดั้งเดิมอย่างหนังสือพิมพ์ และนิตยสาร เกิดเป็นคำถามขึ้นบ่อยครั้งในยุคนี้ ว่าทิศทางของวารสารศาสตร์แห่งอนาคตจะเป็นอย่างไรต่อไป

Life on campus เก็บสาระดีๆมาฝากผู้อ่าน จากการสัมมนาหัวข้อ "วารสารศาสตร์แห่งอนาคต" ซึ่งจัดขึ้นโดยคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย โดยมีการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับวารสารศาสตร์ปัจจุบัน ผ่านมุมมองวิทยากรผู้อยู่ในวงการสื่อ ได้แก่ นิรันดร์ เยาวภาว์ Web master ผู้จัดการออนไลน์ , ภัทระ คำพิทักษ์ บรรณาธิการข่าวการเมือง นสพ.โพสต์ทูเดย์ และ ทรงกลด บางยี่ขัน บรรณาณาธิการนิตยสาร a day

เริ่มต้นที่ความคิดเห็นของ รศ.มาลี บุญศิริพันธ์ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ที่กล่าวว่า นักศึกษามักเกิดคำถาม และความกังวลว่า ในยุคที่เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทมากขึ้น หนังสือพิมพ์จะคงอยู่ได้ในอนาคตหรือเปล่า "มั่นใจว่าอยู่ได้ ไม่มีวันหายไปจากโลก แม้รูปแบบของการบริโภคข่าวอาจมีเปลี่ยนแปลงไป อย่างไรก็ตาม ความรู้สึกของการอ่านหนังสือพิมพ์ก็ยังให้อารมณ์ที่แตกต่าง ดังนั้นแนวโน้มของสื่ออาจเปลี่ยนรูปแบบให้เหมาะสมกับยุค อาจไม่ได้เป็นกระดาษเหมือนเดิม แต่หนังสือพิมพ์ก็ยังคงอยู่ต่อไป"

เมื่อเปรียบจุดเด่น และจุดด้อยระหว่างสื่อสิ่งพิมพ์กับสื่อออนไลน์ ในแง่มุมของการตลาดและการโฆษณา นิรันดร์ เยาวภาว์ อธิบายว่า "สื่อออนไลน์ได้เปรียบในแง่มีสถิติผู้ชมที่เห็นได้ชัดเจน และวัดได้จาก truehits ซึ่งรับรองจากหน่วยงานของกระทรวงวิทยาศาสตร์ เมื่อวัดสถิติผู้เข้าชมได้ว่ามีคนคลิกเข้ามาอ่านมากน้อยแค่ไหน ยอดดังกล่าวก็นำไปใช้กำหนดโฆษณาได้ง่ายขึ้น แตกต่างจากสื่อสิ่งพิมพ์ที่ยังต้องใช้เอเจนซี่ในการสำรวจ และประมาณจำนวนผู้อ่าน นอกจากนี้สื่อออนไลน์ได้เปรียบในแง่รายละเอียดของสินค้านั้นๆ เพราะสามารถเชื่อมต่อไปยังเว็บไซต์ผลิตภัณฑ์ หรือแม้กระทั่งการจอง การซื้อขาย ผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้อย่างสะดวกรวดเร็ว"


อ้างอิงจาก...http://www.unigang.com/Article/1373

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น